ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก : pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo
วันก่อนได้พบเจอเรื่องราวของครูคนหนึ่งในสมัยเรียน ที่ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ ทำให้อยาก
จะรู้เพิ่มเติมว่าเจ้าโรค “รูมาตอยด์” นั้นมันคือโรคอะไรนอกเหนือจากความรู้ตื้นๆ ว่าเป็นโรคเกี่ยว
กับข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ว่าเหตุใดมันจึงดูร้ายแรงนัก
Image may be NSFW.
Clik here to view.
โรครูมาตอยด์
มักจะมีผลต่อกับข้ออย่างสมมาตร นั่นก็คือ
มันจะเกิดขึ้นทั้งซ้ายและขวาโดยเท่าเทียม
อาจจะเริ่มต้นที่ข้อเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น
และที่พบบ่อยที่สุดคือที่ข้อมือ ข้อศอก ไหล่ เข่า และข้อเท้า
ขอบคุณภาพประกอบจาก : umm.edu
และโชคดีที่ได้ไปเจอบทความเกี่ยวกับสุขภาพ จากเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ ดังนี้จ้า….
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
เป็นความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่ง โดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้
เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะ
ที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้อและ
ข้อเกร็ง (พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกาย
สมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด หัวใจ เม็ดเลือด
ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ
จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้างที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ?
อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่
- ♦ ข้าวกล้อง
- ♦ ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม
- กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
- ♦ ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว
ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น - ♦ น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
- ♦ เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา
ควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?
อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด
เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ
อาหารอื่นที่อาจจะรับประทานได้ หรือควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง?
อาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่
เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแลต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย
และเครื่องเทศบางชนิด
หมายเหตุ บทความสั้น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมี ลำดับที่ 4
♦ ♦ ♦ ♦ ♦ ♦ ♦ ♦
Image may be NSFW.
Clik here to view.
ขอบคุณภาพประกอบจาก : arthritissymptomstreatment.blogspot.com
หากใครที่พบว่าตนเองนั้นมีความผิดปกติตามข้อต่อ ลองไปพบแพทย์เพื่อให้ตรวจดูความผิดปกติ เพื่อที่จะ
ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และควรเลี่ยงอาหารดังบทความข้างต้นด้วยจะเป็นดีที่สุดจ้า
Image may be NSFW.
Clik here to view.
ขอขอบคุณข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์
สามารถเข้าอ่านความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพและอื่นๆ ได้ที่ pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo